Friday, August 30, 2013

ต๋าจี


ซูต๋าจี หรือในการ์ตูนตำนานเทพประยุทธ์แปลเป็น หลาจี่

ซูต๋าจี ในบทบาทของนางจิ้งจอกนั้น เกิดจากวิญญาณของจิ้งจอกเก้าหางที่เจ้าแม่หนี่วาส่งลงมาบนโลกมนุษย์ ให้สังหารจักรพรรดิโจ้วหวางที่บังอาจพูดจาดูหมิ่นตนในทางลามก พร้อมกับปีศาจอีกสองตนคือ ไก่ฟ้าเก้าเศียร และซอหินหยก

เดิมทีซูต๋าจีเป็นมนุษย์เป็นลูกสาวของเศรษฐีชื่อ ซูฮู่ เป็นสาวสวยหาใครเปรียบได้ยาก มีอยู่วันหนึ่งที่โจ้วหวางต้องการเฟ้นหาสาวงามที่มีใบหน้าสวยงามดั่งเช่นเจ้าแม่หนี่วา ซึ่งก็มาโป๊ะเชะที่ซูต๋าจีนั่นเอง และแล้วนั่นก็เป็นเหตุให้ปีศาจจิ้งจอกได้โอกาสสังหารซูต๋าจีแล้วเข้าสิงร่างของเธอซะ

นับจากวันนั้น ซูต๋าจีก็เปลี่ยนไป เธอใช้มารยาทุกอย่างมัดใจจักรพรรดิโจ้วหวางไว้หมด แล้วในวังก็เริ่มเต็มไปด้วยเหล่าปีศาจเข้ามาแทรกซึมขึ้นเรื่อย ๆ คอยกำกับและยุยงให้โจ้วหวางกลายเป็นผู้นำเจ้าสำราญ เฉลิมฉลองอย่างหรูหราในวัง ก่อสร้างหอคอยสอยดาวที่สูงชะลูดซึ่งมาจากการขูดรีดภาษีประชาชน ใครขัดก็เป็นตายหมดด้วยวิธีอันโหดร้ายต่าง ๆ นา ๆ อันเป็นผลจากคำแนะนำและการเจ้ากี้เจ้าการของซูต๋าจีทั้งสิ้น

เมื่อบ้านเมืองในราชวงศ์ต้าซางกลายเป็นความวุ่นวาย และเหล่าปีศาจร้ายก็เข้ามายึดครองโลกมนุษย์ ก็ร้อนถึงเหล่าเซียนแห่งเขาคุนหลุน ซึ่งตอนนั้นมีประมุขคือปรมาจารย์เต๋าที่ชื่อว่า เหยวียนสื่อเทียนจุน ก็มอบหมายหน้าที่กำจัดต๋าจีและฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับมาเป็นปกติกับศิษย์เอกที่ชื่อ ไท้กงว่าง หรือที่มีชื่อจริงว่า หลี่ว์ส้าง (หรือ เจียงจื่อหยา) เป็นหัวหอกหลักในการรวบรวมกำลังพลพรรคเซียนเต๋าเพื่อจัดการกับต๋าจีซะ

ต๋าจีเมื่อล่วงรู้แผนนี้ก็คอยส่งสมุนปีศาจของตนมารังควาญพวกไท้กงว่างเป็นระยะ ๆ และยังได้ความร่วมมือจากขุนนางหลายฝ่ายที่นิยมจักรพรรดิโจ้วหวางเป็นกำลังสำคัญ ในขณะที่ไท้กงว่างก็ได้รวบรวมพวกพ้องที่เป็นนักพรต จอมยุทธ์ และเหล่าขุนนางที่ปลีกตัวจากราชสำนักมามากมาย โดยมีจีซาง อดีตเจ้าเมืองที่ถูกต๋าจีเล่นพิษการเมืองอย่างรุนแรง เป็นผู้นำฝ่ายมนุษย์ที่อยู่ข้างเดียวกับไท้กงว่าง กรีฑาทัพเพื่อบุกโจมตีมหานครเฉาเกอ แล้วโค่นล้มจักรพรรดิโจ้วหวางเสีย

เรื่องราวบานปลายไปเรื่อย ๆ เมื่อทางฝ่ายเทพและเซียนก็แตกเป็นสองฝ่าย ทางต๋าจีก็มีเหล่าเทพที่ทรงอำนาจเป็นพวกพ้องเยอะมาก การต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และเหล่าเซียนกับเซียนทั้งสองฝ่าย ก็เป็นไปอย่างดุเดือด มีคนล้มตายมากมาย ซึ่งผู้ที่ตายในศึกสงครามนั้นก็จะถูกดึงวิญญาณไปไว้บนหอแต่งตั้งเทพเจ้าที่ปรมาจารย์ เหยวียนสื่อเทียนจุน สร้างไว้

ภายหลัง กองทัพของจีฟา บุตรชายจีซาง ก็นำทัพล้อมนครเฉาเกอไว้ได้สำเร็จ ต๋าจีหมดหนทางสู้ คิดจะกลับไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าแม่หนี่วา แต่ผลก็กลับตาลปัตรเมื่อเจ้าแม่หนี่วาเห็นว่าต๋าจีทำเิกินกว่าเหตุ นำมาซึ่งความหายนะของบ้านเมืองมากมาย จึงส่งต๋าจีกับพวกพ้องให้กับไท้กงว่าง และปีศาจทั้งสามที่เป็นต้นเหตุความวุ่นวายทั้งหมดก็ถูกสำเร็จโทษ ณ ตอนนี้นี่เอง

เรื่องของซูต๋าจีก็สิ้นสุดเพียงเท่านี้ แต่ก็ใกล้สิ้นสุดเรื่องราวของฮ่องสินด้วย

โจ้วหวางที่สูญเสียทุกสิ่งก็สำนึกได้เมื่อสาย พระองค์จึงเผาตัวตายพร้อม ๆ กับหอคอยสอยดาวเพื่อชดใช้ความผิด จีฟายึดครองเมืองหลวงได้ก็ยกเลิกราชวงศ์ซาง แล้วก่อตั้งราชวงศ์โจวขึ้น สืบทอดสายเลือดต่อไปอีกหลายร้อยปี

ส่วนทางไท้กงว่างและพวกพ้องที่เหลืออยู่ก็กลับไปที่เขาคุนหลุน แล้วเปิดผนึกหอแต่งตั้งเทพเจ้าออกมา เพื่อสร้างระบบของเหล่าเทพเสียใหม่ โดยแต่งตั้งเหล่าวิญญาณของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว และผู้ที่ทำความชอบในศึกครั้งนี้ทั้งหมด ให้เป็นเทพประจำตำแหน่งต่าง ๆ ครบทั้งหมด ซึ่งนั่นก็คือจุดเริ่มต้นทั้งหมดของอาณาจักรสวรรค์ของตำนานจีนที่จะสืบทอดต่อไปในตำนานเรื่องอื่น ๆ 


นายสมภพ จันทรากา

นายสมภพ จันทรากา


นายสมภพฯ เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้นำที่อุทิศตนเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน (Development and Education Program for Daughters and Communities : DEPDC)

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 นายสมภพ จันทรากา ได้รับเหรียญ Wallenberg จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา นายสมภพฯ เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้นำที่อุทิศตนเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์ อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน (Development and Education Program for Daughters and Communities : DEPDC) และการดำเนินการของนายสมภพฯ พร้อมกับ DEPDC ทำให้สามารถช่วยเหลือและปกป้องเด็กจำนวนนับพันแถบลุ่มแม่น้ำโขงจากการค้าประเวณีได้ นายสมภพฯ ได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลโนเบลมาแล้วถึง 2 ครั้ง และได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ว่าเป็นวีรบุรุษแห่งเอเชีย

ในการนี้ เพื่อเป็นการแสดงความชื่นชมและสนับสนุนการเสียสละของนายสมภพฯ และบุคคลอื่น ๆ ที่ทำประโยชน์แก่สังคม นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอร์ชิงตัน และ นายณรงค์ ศศิธร กงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับชาวไทยในมลรัฐมิชิแกน ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีการมอบเหรียญ ทั้งนี้นายสมภพฯ ยังได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับงานของตนตามประเพณีการมอบรางวัลอีกด้วย

รัฐบาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการต่อสู้ภัยการค้ามนุษนย์ภายในประเทศและแถบชายแดนของประเทศ จนได้รับการชื่นชมจากหลายองค์กรว่าไทยเป็นประเทศที่มีการดำเนินการแข็งขังเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และเมื่อไม่นานมานี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอร์ชิงตัน และกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมกันจัดการประชุมกับนักการเมืองและหน่วยงานสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการของไทยเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งความเข้าใจของฝ่ายสหรัฐฯ จะเป็นการย้ำถึงมาตราการด้านการค้าและการเมืองที่สหรัฐฯ ใช้กดดันต่างประเทศ โดยชี้ถึงสภาพการณ์ด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน

Wednesday, August 28, 2013

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์(พระนางเรือล่ม)

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์(พระนางเรือล่ม)

ดาวน์โหลดเอกสาร
http://www.mediafire.com/?uhphchlc7wn81ya

Tuesday, August 27, 2013

อาณาจักรโบราณของไทย

อาณาจักรโบราณของไทย

ดาวน์โหลดเอกสาร

...ยังไม่มา

พ่อขุนมังรายมหาราช

พ่อขุนมังรายมหาราช

ดาวน์โหลดเอกสาร
MF - http://www.mediafire.com/?j1r2xs1fjww2nzo

กัปตันเหล็ก(ฟรานซิสไลท์)

กัปตันเหล็ก(ฟรานซิสไลท์)

       กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายในแถบหัวเมือง มลายู ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำความดีความชอบ โดยการจัดหาอาวุธปืนมาถวายแก่พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาราชกปิตัน" บางครั้งจึงเรียกเป็นพระยาราชกปิตันเหล็ก

      กัปตันเหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2283 ที่เมืองคัลลิงตัน ในซัฟฟอร์ค เคยเป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่ภายหลังหันมาทำการค้าขาย ได้มาตั้งบ้านเรือน ทำการค้าขายอยู่ที่เกาะถลาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 รู้จักสนิทสนมกับพระยาถลางภักดีภูธร และคุณหญิงจันทร์ ทั้งยังเป็นที่รู้จักนับถือของชาวเมืองทั่วไปด้วย ในปีถัดมาก็ได้สมรสกับ มาร์ติน่า โรเซลล์ สตรีเชื้อสายโปรตุเกสไทยและมาเลย์ มีบุตร 5 คน ชื่อ ซาร่าห์ วิลเลียม แมรี่ แอน และฟรานซิส

      ในปี พ.ศ. 2319 กัปตันเหล็กได้ส่งปืนนกสับ เข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และภายหลังได้เป็นผู้ติดต่อซื้ออาวุธ ให้แก่ทางราชการ พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญให้อังกฤษ ได้เจรจากับสุลต่านแห่งไทรบุรี ขอเช่าเกาะปีนังเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2329 จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ ให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะปีนัง และตั้งชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า เกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales Islands) กัปตันเหล็กได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2337


อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1889 เวลา06.30น. ที่เมืองเบราเนา ประเทศออสเตรีย เป็นผู้นำ(ฟือเร่อ)ของประเทศเยอรมนีระหว่างปี (ค.ศ. 1933-1945) และเป็นผู้นำของพรรคกรรมกรสังคมนิยมแห่งเยอรมนี หรือพรรคนาซี(nazi)

ภายใต้การนำของฮิตเลอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันและฝ่ายอักษะ(ญี่ปุ่นและอิตาลี)ได้ยึดครองยุโรปได้เกือบทั้งทวีป ฮิตเลอร์ได้ใช้นโยบายด้านเชื้อชาติฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปอย่างน้อย 11 ล้านคน ซึ่งนับเป็นชาวยิวถึง 6 ล้านคนฮิตเลอร์เปลี่ยนแปลงเยอรมนีจากประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งมาเป็นมหาอำนาจของโลก แต่ฝ่ายพันธมิตร นำโดยประเทศแกนนำได้แก่สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต (รัสเซียในปัจจุบัน) สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน แคนาดา สเปน สาธารณรัฐโปรตุเกส ฟิลิปปินส์ สามารถเอาชนะเยอรมนีลงได้ใน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ฮิตเลอร์จบชีวิตโดยการยิงตัวตายพร้อมภรรยาชื่อ อีวา บราวน์ซึ่งกินยาพิษเป็นการฆ่าตัวตาย ในหลุมหลบภัยเบอร์ลินเพื่อหนีการถูกจับเป็นเชลย




ที่มา http://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?topic=10406.0

Wednesday, August 14, 2013

พระยาพิชัย


พระยาพิชัย

     พระยาพิชัย มีชื่อเดิมว่า จ้อย ต่อมาได้ชื่อว่า "ทองดี" เป็นบุตรชาวนา อยู่บ้านห้วยคา เมืองพิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตด์) ได้ศึกษาวิชามวยกับครูที่มีชื่อหลายคน ออกชกมวย จนมีชื่อเสียง และได้หัดฟันดาบที่สวรรคโลกจนเก่งกล้า
เมื่อมีโอกาสได้ไปเมืองตาก เป็นช่วงที่มีงานถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และมีมวยฉลองด้วยพอดี นายทองดี หรือที่ได้รับสมญาเรียกว่านายทองดีฟันขาว ก็เข้าเปรียบกับมวยชั้นครูและชกชนะสองคนรวด พระเจ้าตากเห็นฝีมือนายทองดีฟันขาวเช่นนั้น ก็ทรงชวนให้ไปอยู่ด้วย ต่อมาได้รับราชการเป็นหลวงพิชัยอาสา

     ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงช่วงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อครั้งพระยาตาก (สิน) ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา หลวงพิชัยอาสาเป็นกำลังตีฝ่ากองทัพพม่าออกไปด้วย
หลังจากที่ซ่องสุมผู้คน และเตรียมกำลังรบอยู่ที่เมืองจันทบุรี จนพอเหมาะแก่การรุกไล่ทัพพม่าแล้ว พระเจ้าตากจึงยกกองทัพเรือขึ้นมาตีเมืองธนบุรีได้ แล้วให้หลวงพิชัยอาสา เป็นทัพหน้ายกขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นได้สำเร็จ ครั้นเมื่อพระเจ้าตากได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงพิชัยอาสาเป็นเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์

     ตลอดระยะเวลาที่ทำสงครามปราบชุมนุมต่าง ๆ เพื่อรวมไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น หลวงพิชัยอาสาหรือเจ้าหมื่นไวยวรนาถ ได้ถือดาบออกหน้าทหารอย่างกล้าหาญสู้อย่างเต็มความ สามารถ จนได้เลื่อนเป็นพระยาสีหราชเดโช และเป็นพระยาพิชัยได้ครองเมืองพิชัยในที่สุด

     เมื่อพระยาพิชัยเป็นเจ้าเมืองพิชัยอยู่นั้น โปสุพลาได้ยกทัพลงมาตีเมืองพิชัย คราวนั้นพระยาพิชัย ได้ถือดาบสองมือ คุมทหารออกต่อสู้ป้องกันพม่าจนดาบหัก เป็นที่เลื่องลือจนได้นามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก" ชีวิตราชการของพระยาพิชัยดาบหักน่าจะรุ่งเรือง และเป็นกำลังป้องกันบ้านเมือง ได้เป็นอย่างดีในแผ่นดินต่อมา หากแต่พระยาพิชัยดาบหักเห็นว่าตัวท่าน เป็นข้าหลวงเดิมของพระเจ้าตาก เกรงว่านานไปจะเป็นที่ระแวงของพระเจ้าแผ่นดิน และจะหาความสุขได้ยาก ประกอบกับมีความเศร้าโศกอาลัย ในพระเจ้าตากอย่างมาก จึงได้กราบทูลว่าจะขอตายตามสมเด็จพระเจ้าตาก ดังนั้นจึงได้ถูกประหารชีวิต เมื่ออายุได้ 41 ปี พระยาพิชัยดาบหัก เป็นต้นตระกูล วิชัยขันธะ

อาร์คิมิดีส


 อาร์คิมิดีส

              อาร์คิมิดีส (ภาษากรีก: Αρχιμήδης) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก เกิดเมื่อ 287 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองไซราคัส ซึ่งในเวลานั้นเป็นนิคมท่าเรือของกรีก บิดาเป็นนักดาราศาสตร์ ชื่อฟิดิอัส และอาจเป็นญาติกับพระเจ้าไฮเออรอนที่ 2 แห่งไซราคัส นักประวัติศาสตร์คณิตศาสตร์บางท่านถือว่าอาร์คิมิดีสเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เทียบเท่ากับ นิวตัน เกาส์ และ ออยเลอร์

ประวัติ

อาร์คิมิดีสน่าจะได้รับการศึกษาในเมืองอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ โดยได้ศึกษากับศิษย์ของยุคลิด เมื่อกลับมาบ้านเกิด ก็ได้พัฒนาความรู้ทั้งด้านคณิตศาสตร์ เรขาคณิต และกลศาสตร์ ด้วยความปราดเปรื่อง และมีส่วนช่วยในการสร้างยุทโธปกรณ์ของกองทัพได้อย่างมาก ประวัติอื่นๆ ของอาร์คิมิดีสแม้จะเล่าไว้หลายกระแส แต่ก็ไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจน ที่ยืนยันได้ก็คือ หลักการทางคณิตศาสตร์ที่ปรากฏในตำรา และการอ้างอิงของนักปราชญ์ชั้นหลัง แต่ก็ไมได้เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวเท่าใดนัก

สิ่งประดิษฐ์

ผู้คนส่วนมากจดจำอาร์คิมิดีสได้ดี จากเรื่องที่เขาลงอ่างอาบน้ำ แล้วนำหลักการแทนที่น้ำไปใช้พิสูจน์มงกุฎของพระราชาไฮเออรอนได้ และนั่นก็คือผลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งของเขา ภายหลังเรียกว่า หลักการอาร์คิมิดีส (Archimedes' principle) โดยมีหลักการคร่าวๆ คือ ปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมา เท่ากับปริมาตรของวัตถุที่ใส่ลงไปในน้ำนั้น

ผลงานอีกชิ้นที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ ก็คือเกลียวอาร์คิมิดีส (Archimedes' screw) เป็นอุปกรณ์ช่วยผันน้ำขึ้นจากที่ต่ำ โดยอาศัยเกลียวยาวบรรจุในท่อ หมุนพาน้ำขึ้นไปยังปากท่อ

ตำรา

ผลงานที่สำคัญของอาร์คิมีดิสมีด้วยกันหลายเล่ม โดยมากเป็นเรื่องของเรขาคณิตและกลศาสตร์ ในทีนี้ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วน ดังนี้
· ว่าด้วยทรงกลมและทรงกระบอก (On Connoids and Spheroids) เขียนไว้สองเล่ม กล่าวว่า พื้นที่ของผิวทรงกลมใดๆ มีค่าเป็น 4 เท่าของพื้นที่วงกลมที่ใหญ่ที่สุดที่บรรจุในทรงกลมนั้น และปริมาตรของทรงกลมเป็น 2/3 เท่าของปริมาตรทรงกระบอกที่สูงเท่ากัน
· การวัดวงกลม (Measurement of the Circle) เป็นงานสั้นๆ กล่าวถึงค่าพาย (pi) ซึ่งเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวง ต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 3 1/7 – 3 10/71 อาร์คิมิดีสใช้รูปทรงหลายเหลี่ยม เพื่อหาค่าพาย จนมีการพัฒนาเรื่องอนุกรมขึ้นในปลายคริสตศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ยังแสดงค่าประมาณที่แม่นยำของ รากที่สอง ของ 3 และค่ารากที่สองของเลขอื่นๆ อีกหลายจำนวน
· ว่าด้วยทรงกรวย และทรงกลม (On Connoids and Spheroids) เกี่ยวกับการพิจารณาปริมาตรของเสี้ยวทรงตัน ที่เกิดจากการหมุนภาคตัดกรวย (วงกลม วงรี พาราโบลา หรือ ไฮเพอร์โบลา) รอบแกนของตัวเอง ปัจจุบันนี้เราถือว่านี่เป็นปัญหาการใช้อินทีเกรชั่น
· ว่าด้วยเส้นเกลียว (On Spirals) อาร์คิมิดีสบรรยายถึงโลคัสของจุดที่เคลื่อนที่ (ด้วยความร็วคงที่)ไปตามแนวเส้นตรง (ที่กำลังหมุนรอบตัวเองอยู่ด้วยความเร็วคงที่) ณ จุดใดๆ
· ว่าด้วยดุลยภาพของระนาบ (On the Equilibrium of Planes) หรือ จุดศูนย์ถ่วงของระนาบ (Gravity of Planes) เขียนไว้สองเล่ม กล่าวถึงการศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วงของระนาบตรงใดๆ เล่มแรกกล่าวถึงกฎของคาน (ความสูงบนคานที่ระยะไกลจากจุดหมุน เป็นอัตราส่วนผกผันกับน้ำหนัก) จากผลงานดังกล่าวทำให้อาร์คิมิดีสได้รับการยกย่องเป็นผู้วางรากฐานวิชากลศาสตร์ทฤษฎี (Theoretical Mechanics)
· เสี้ยวของพาราโบลา (Quadrature of the Parabola) ตอนแรกว่าด้วยเรื่องกลศาสตร์ และจากนั้นเป็นการคำนวณว่าพื้นที่ของส่วนใดๆ ของพาราโบลา จะเท่ากับ 4/3 ของพื้นที่สามเหลี่ยม ที่มีตำแหน่งและความสูงเท่ากับส่วนเสี้ยวนั้น
· นักคำนวณทราย (The Sand-Rekoner) เป็นตำราสั้นๆ อธิบายระบบความคิดเรื่องจำนวนของกรีก แสดงวิธีการนับจำนวนที่มีค่ามากๆ เช่น นับเม็ดทรายที่จะถมจนเต็มจักรวาล ทั้งยังได้พิจารณาเส้นผ่าศูนย์กลางของพระอาทิตย์ โดยการสังเกตด้วยเครื่องมือ
· วิธีการอันเกี่ยวกับทฤษฎีบทกลศาสตร์ (Method Concerning Mechanical Theorems) ว่าด้วยกระบวนการค้นพบในทางคณิตศาสตร์ เล่าถึงการใช้วิธีการเชิงกลศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ เช่น พื้นที่ของเสี้ยวพาราโบลา รวมทั้งพื้นที่ผิวและปริมาตรของทรงกลม
· ว่าด้วยเทหวัตถุลอย (On Floating Bodies) นับเป็นงานชิ้นแรกที่ว่าด้วยเรื่องไฮโดรสแตติกส์ กล่าวว่าตำแหน่งที่ของแข็งจะปรากฏเมื่อลอยอยู่ในของเหลว จะขึ้นกับรูปร่างและการแปรเปลี่ยนตามความถ่วงจำเพาะ

              อาร์คิมิดีสได้เขียนตำราไว้มาก แต่หลงเหลือต่อมาเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น เราทราบได้จากคำกล่าวอ้างอิงในผลงานของนักปราชญ์ท่านอื่นๆ หลังอาร์คิมิดีสไม่มากนัก เช่น การแก้โจทย์ที่มีตัวแปรที่ไม่ทราบถึง 8 ตัว หรือการเขียนสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบ่งเป็น 14 ส่วน เพื่อเล่นเกมบางอย่าง นอกจากนี้ยังมีผลงานบางชิ้นที่มีการแปลออกเป็นภาษาอาหรับด้วย แม้จะไม่ปรากฏชื่ออาร์คิมิดีส ก็เชื่อได้ว่ามีเค้าความคิดของท่านอยู่ชัดเจน
              ผลงานของอาร์คิมิดีสเริ่มปรากฏแพร่หลายเมื่อคริสตศตวรรษที่ 16-17 และสะท้อนอยู่ในผลงานของนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น เคปเลอร์ และกาลิเลโอ แม้กระทั้งในสมัยหลัง ก็ยังมีอิทธิพลต่อนักคณิตศาสตร์หลายท่าน โดยเฉพาะ เรอเน เดส์การตส์ และ ปิแยร์ เดอ แฟร์มาต์ นับว่าอาร์คิมิดีสมีส่วนอย่างมากในการปูพื้นความรู้ทางคณิตศาสตร์แก่โลกยุคใหม่
อาร์คิมิดีสเสียชีวิตในราว 212-211 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีประวัติเล่าไว้ในแน่ชัด ในบ้านเกิดของตน มีประวัติเล่าว่าทหารโรมันคนหนึ่งใช้ดาบสังหารอาร์คิมิดีสจนเสียชีวิต เนื่องจากไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของตน